แนวคิดเรื่องถิ่นกำเนิดของชนชาติไทย

                                  นักวิชาการและผู้สนใจจำนวนมากทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่พยายามศึกษาค้นคว้าถึง

ถิ่นกำเนิดของชนชาติไทย  ต่างก็มีความเห็นแตกต่างกันเป็นหลายแนวคิด  บ้างก็ว่าอยู่ไกลถึงเทือกเขาอัลไตตอนเหนือ

ของประเทศจีนปัจจุบัน  บ้างก็ว่าอยู่ทางตอนกลางหรือตอนใต้ของประเทศจีนปัจจุบัน  บ้างก็ว่าอยู่แถบคาบสมุทรมลายู 

 และหมู่เกาะอินโดนีเซีย  และบ้างก็ว่าอยู่ในดินแดนที่เป็นประเทศไทยปัจจุบันนี้เอง

                                แนวความคิดเหล่านี้ต่างก็มีเหตุผลและหลักฐานสนับสนุนพอสมควร  และต่างก็มีทั้งผู้เชื่อถือและ

ผู้คัดค้านไม่เห็นได้วย  ต่อไปอาจมีหลักฐานเพิ่มเติมจนทำให้เราเชื่อแนวคิดใดแนวคิดหนึ่ง  หรืออาจมีแนวคิดใหม่เกิดขึ้นอีกก็ได้

แนวความคิดที่ 1    เชื่อว่าถิ่นกำเนิดของไทยอยู่บริเวณเทือกเขาอัลไต


                                                           

                           เจ้าของแนวความคิดที่เชื่อว่าชนชาติไทยมีถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณเทือกเขาอัลไต  ซึ่งอยู่ในมองโกเลียทางตอนเหนือของประเทศจีนนี้  คือ  ดร.วิเลียม  คลิฟตัน  (Dr. William  Clifton  Dodd)   หมอสอนศาสนาชาวอเมริกัน  ซึ่งอยู่ในเมืองไทยนานถึง  32  ปี  และได้เดินทางสำรวจจากภาคเหนือของไทยไปในพม่า  ลาว  เวียดนาม  จนถึงมณฑลยูนนาน  กวางสี  ไกวเจา  และกวางตุ้งในจีน  ภายหลังได้เขียนไว้ในหนังสือชื่อ  The  Tai  Race  :  Elder  Brother  of  the  Chinese  ว่า  คนไทยมีเชื้อสายมองโกล  แล้วต่อมาได้อพยพลงมาทางตอนใต้จนถึงดินแดนซึ่งปัจจุบันเรียกว่า  คาบสมุทรอินโดจีน

                                ความคิดที่ว่ากำเนิดของชนชาติไทยอยู่ที่เทือกเขาอัลไตนี้  ขุนวิจิตรมาตรา  (รองอำมาตย์โท 

 สง่า  กาญจนาคพันธุ์)   ข้าราชการที่มีความสนใจประวัติศาสตร์ไทย  มีความเห็นสอดคล้องกับแนวความคิดนี้  จึงได้นำ

มาขยายความต่อ  โดยได้ศึกษาค้นคว้าและเขียนผลงานออกเผยแพร่ในหนังสือชื่อ  หลักไทย  ซึ่งพิมพ์เผยแพร่เมื่อ  พ.ศ.

  2471  มีข้อความตอนหนึ่งกล่าวได้ดังนี้

                               “....... ในชั้นแรกที่เดียว  ไทยจะมีชาติภูมิอยู่ตรงไหนนั้น  ไม่มีทางทราบได้ชัด  แต่อาจกล่าวได้กว้างๆ  ว่ามีแหล่งเดิมอยู่ในบริเวณภูเขาอัลไตอันเป็นบ่อเกิดของพวกมงโกลด้วยกันเท่านั้น  ภายหลังาจึงแยกลงมาข้างใต้  มาตั้งภูมิลำเนาใหญ่โตขึ้นในลุ่มน้ำเหลือง  ขณะที่จีนแยกไปเรียรายอยู่ตามชายทะเลสาบคัสเปียนทางด้านตะวันตก  พร้อมกันกับพวกตาต  ซึ่งเที่ยวไปมาอยู่แถวทะเลทรายชาโมหรือโกบีใกล้ๆ  กับบ้านเกิดนั้นเอง  พวกไทยได้ชัยภูมิเป็นอู่ข้าวอู่น้ำบริบูรณ์ดีกว่าพวกอื่นๆ  จึงเจริญก้าวหน้าบรรดาสายมงโกลด้วยกัน.......

          ปัจจุบันมีผู้คัดค้านแนวความคิดนี้มาก   เนื่องจากหลักฐานที่มีอยู่ไม่เพียงพอ  ประเกอบกับเทือก

เขาอัลไตอยู่ในเขตหนาว  ซึ่งอยู่ห่างไกลจากประเทศไทยในปัจจุบันมาก  หากมีการอพยพโยกย้ายลงมาจริงก็จะต้องผ่าน

อากาศหนาวเย็น  และทะเลทรายอันกว้างใหญ่ที่เต็มไปด้วยความทุรกันดาร  เป็นระยะทางยาวไกลยากที่จะมีชีวิตรอดมาเป็นจำนวนมากได้

                               แนวความคิดที่  2  เชื่อว่าถิ่นกำเนิดของไทยอยู่ในบริเวณมณฑลเสฉวน


                                                      

           มณฑลเสฉวนอยู่ในตอนกลางของประเทศจีนปัจจุบัน  ศาสตราจารย์  แตร์รีออง  เดอ  ลาคูเปอรี  (Terrien ‘e  Lacouprie)  แห่งมหาวิทยาลัยลอนดอน  เป็นผู้เสนอแนวความคิดนี้  เมื่อ  พ.ศ.  2428

            ลาคูเปอรี่ได้แนวความคิดนี้จากการค้นคว้าประวัติศาสตร์และภาษาโบราณาของจีน  โด่ยเสนอความเห็นไว้ในบทนำของหนังสือ  Amongst  the  Shans  ตีพิมพ์ที่อังกฤษใน พ.ศ. 2428   ในบทความนี้ลาคูเปอรีสรุปว่าคนเชาติไทยเดิมตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลเสฉวน

             ความเป็นมาของชนชาติไทยตามแนวความคิดของลาคูเปอรีนี้  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรม

พระยาดำรงราชานุภาพ  ได้ทรงแสดงทัศนะในแนวเดียวกันไว้ในพระนิพนธ์เรื่อง  แสดงบรรยายพงศาวดารสยาม  ซึ่งเป็

หนังสือรวมบทบรรยายของพระองค์ที่ทรงบรรยายไว้ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เมื่อ พ.ศ. 2467  ว่า  ดินแดนแถบ

ประเทศไทยแต่เดิมเป็นถิ่นที่อยู่ของพวกละว้า  มอญ  เขมร  คนไทยอยู่แถบทิเบตติดต่อกับเขตแดนจีน  (มณฑลเสฉวน

ปัจจุบัน)  ราว  พ.ศ. 500   ถูกจีนรุกราน  จึงอพยพมาอยู่ที่ยูนนาน  และแยกย้ายกันไปทางตะวันตก  คือ  เงี้ยว  ฉาน 

  ทางใต้คือ  สิบสองจุไทย  และทางตอนล่างคือ  ล้านนา  ล้านช้าง

                 สำหรับนักวิชาการไทยท่านอื่นๆ  แม้ผลงานจะปรากฏในช่วงเวลาแตกต่างกัน  แต่ประเด็นของเรื่องก็สอดคล้องกัน  เช่น

                ศาสตราจารย์  พระยาอนุมานราชธน  (เสถียรโกเศศ)   ได้กล่าวไว้ในหนังสือ  ที่เขียนขึ้นจาก

การรวบรวมข้อมูลเอกสารชื่อ  เรื่องของชาติไทย  (พ.ศ. 2483)  ว่า  ถิ่นเดิมของคนไทยอยู่ทางตอนกลางของประเทศ

จีนในลุ่มแม่น้ำแยงซี  ฝั่งซ้ายตั้งแต่มณฑลเสฉวนไปจดทะเลทางตะวันออก

                 พระบริหารเทพธานี   กล่าวไว้ในผลงาน  ซึ่งได้จากการศึกษา  ค้นคว้า  คือ  เรื่อง  พงศาวดาร

ชาติไทย   (พ.ศ. 2496)  ว่า  ถิ่นเดิมของไทยอยู่บริเวณตอนกลางของจีน  ต่อมาอพยพลงมาที่มณฑลยูนนาน  และ

ค่อยๆ ลงมาทางเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

                  หลวงวิจิตรวาทการ     เป็นอีกท่านหนึ่งสนใจเรื่องถิ่นกำเนิด  ของชาติไทย  ท่านได้แสดงทัศนะ

ไว้ในหนังสือ  สยามกับสุวรรณภูมิ  (พ.ศ. 2467)   และงานค้นคว้าเรื่องชนชาติไทย (พ.ศ. 2499)   สรุปว่า  เดิมคน

ไทยอยู่ทางตอนกลางของจีน  ในดินแดนซี่งเป็นมณฑลเสฉวนร  ฮูเป  อันฮุย  และเกียงซีในปัจจุบัน  แล้วค่อยๆ  อพยพ

ลงมาสู่มณฑลยูนานและแหลมอินโดจีน

                  ปัจจุบันได้มีหลักฐานการค้นคว้าใหม่ๆ  แย้งแนวความคิดนี้ว่าคนไทยเป็นพวกประกอบอาชีพการ

เพาะปลูกพืชเมืองร้อน  โดยเฉพาะการปลูกข้าว  จึงน่าจะอยู่ในที่ราบลุ่มในเขตร้อนชื้นมากกว่าบริเวณที่เป็นภูเขาอันฮุย

หรือที่ราบสูงซึ่งมีอากาศหนาว

แนวความคิดที่ 3    เชื่อว่าถิ่นกำเนิดของไทยอยู่ทางตอนใต้ของจีน



                   บริเวณทางตอนใต้ของจีนในทีนี้  หมายถึง  บริเวณซี่งปัจจุบันเป็นมณฑลยูนนานของจีน  ตอนเหนือของเวียตนาม  รัฐฉานของพม่า  และรัฐอัสสัมของอินเดีย   แนวความคิดนี้เสนอครั้งแรกโดยนักสำรวจชาวอังกฤษชื่อ  อาร์ซิบัล  รอสส์  โคลฮูน  (Archibal  Ross  Colquhoun)  เมื่อ  พ.ศ. 2428

               โคลฮูนเสนอแนวความคิดนี้  หลังจากเขาเดินทางสำรวจโดยออกเดินทางจากวางตุ้ง  ประเทศจีนไปทางตะวันตกถึงเมืองมันฑะเลย์ในพม่า  ผลการสำรวจของเขาปรากฎอยู่ในหนังสือชื่อ  ไครเซ  (Chryse)   ตีพิมพ์ที่อังกฤษเมื่อ  พ.ศ. 2428   ได้ข้อสรุปว่ามีคนเชื้อชาติไทยอาศัยอยู่ตามบริเวณที่เขาเดินทางผ่านไปโดยตลอด

                  นักวิชาการตะวันตกที่มีความคิดเห็นสอดคล้องกับแนวความคิดนี้  ที่สำคัญคือ  อี.เอช. ปาร์คเกอร์  (E.H. Parker)   และ  โวลแฟรม  อีเบอร์ฮาร์ด  (Wolfram  Eberhard)    ปาร์คเกอร์เคยเป็นกงสุลอังกฤษประจำเกาะไหหลำ  และได้เขียนบทความเรื่อง   น่านเจ้า   พิมพ์เผยแพร่เมื่อ  พ.ศ. 2437   สรุปใจความสำคัญว่า  น่านเจ้าซึ่งได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นอาณาจักรที่ยูนานนั้นเคยเป็นของไทย

                     อีเบอร์ฮาร์ด    ศาสตราจารย์ชาวเยอรมันได้ศึกษาเรื่องนี้เมื่อ  พ.ศ. 2491   และได้แสดงแนวความคิดไว้ในหนังสือชื่อ  A  History  of  China   ยืนยันว่าคนไทยมีถิ่นกำเนิดใกล้ปากแม่น้ำแยงซี  ในมณฑลเสฉวน  ต่อมาได้อพยพถอยร่นลงมาจนถึงมณฑลยูนนาน

                    นักวิชาการไทยที่มีผลงานการค้นคว้าที่สอดคล้องกับแนวความคิดนี้คือ   พระยาประชากิจกรจักร 

 (แช่ม  บุนนาค)    ผู้แต่งหนังสือ  พงศาวดารโยนก  ซึ่งเชื่อว่าถิ่นกำเนิดาของชนชาติไทยอยู่กระจัดกระจายในบริเวณ

ตอนใต้ของจีน   รวมไปถึงรัฐอัสสัมของอินเดีย   ท่านได้เล่าถึงวิธีการศึกษาค้นคว้าของท่านไว้ในคำนำหนังสือ

พงศาวดารโยนกว่า  ข้าพเจ้าได้สอบสวนกับพงศาวดารพม่า  รามัญ  ไทยใหญ่    ล้านช้าง   และพงศาวดารจีน  

พงศาวดารเหนือ  พระราชพงศาวดารสยาม  และพงศาวดารเขมรกับหนังสือต่างๆ ในภาษาอังกฤษด้วย  หนังสือเรื่องนี้

พิมพ์เป็นเล่มครั้งแรกเมื่อ  พ.ศ. 2450   เนื้อหาแต่ละตอนล้วนเกี่ยวกับเรื่องราวการอพยพของคนไทยจากตอนใต้ของ

ประเทศจีนทั้งสิ้น

                               นอกจากนี้ศาสตราจารย์  ขจร  สุขพานิช  (พ.ศ. 24562521)     ซี่งเคยเป็นกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย  ก็มีความเชื่อว่าถิ่นกำเนิดของคนไทยอยู่ทางตอนล่างของจีน  หลังจากที่ได้ค้นคว้าหลักฐานทางฝ่ายไทยตรวจสอบกับความเห็นของอีเบอร์ฮาร์ด  และหมอดอดด์  แล้วลงความเห็นว่า  คนไทยมีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ตอนใต้ของจีนในเขตมณฑลกวางตุ้ง  กวางสี  ต่อมาได้อพยพมาทางตะวันตก  ตั้งแต่มณฑลเสฉวนลงล่างเรื่อยมาจนเข้าเขตสิบสองจุไทยลงมาในเขตประเทศลาว

                              แนวความคิดนี้เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน  นักวิชาการาชาวตะวันตกบางท่านได้

ขยายแนวความคิดนี้ออกไป  ทำให้มีสมมุติฐานใหม่ๆ เพิ่มขึ้น  อย่างเช่นมีข้อเสนอว่า  ถิ่นกำเนิดของคนไทยน่าจะอยู่

มณฑลกวางสีและมณฑลกวางตุ้ง  เพราะอยู่ในเขตร้อนชื้น  บ้างก็ว่าน่าจะอยู่ห่างไกลจากน่านเจ้าไปทางตะวันออก  คือ

แนวเขตแดนระหว่างมณฑลกวางสีของจีนกับบริเวณที่ต่อกับเขตของเวียดนาม เป็นต้น

แนวความคิดที่ 4  เชื่อว่าถิ่นกำเนิดของไทยอยู่ในแหลมมลายูและหมู่เกาะอินโดนีเซีย

                                แนวความคิดนี้เสนอโดยวกลุ่มวิชาการทางการแพทย์ของไทย  เริ่มแต่ พ.ศ. 2500  เป็นต้นมา

ผู้เสนอความเห็น  คือ  นายแพทย์สมศักดิ์  สุวรรณสมบูรณ์  และ  นายแพทย์ประเวศ  วะสี     นายแพทย์สมศักดิ์ได้ตรวจ

กลุ่มเลือดของคนไทย  คนชวาและคนจีน  พบว่ากลุ่มเลือดของคนไทยมีเปอร์เซ็นต์ความถี่ของยีนส์เหมือนกับของชาว

เกาะชวา  นาจะมีความเกี่ยวข้องกันในทางใดทางหนึ่ง  คนไทยจึงน่าจะเคยอาศัยอยู่ในหมู่เกาะชวา

                                นายแพทย์ประเวศพบว่ามีเฮโมโกลบิน  อี  (Hgb. E)   ในเลือดของคนภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยมาก  เช่นเดียวกับที่พบในกลุ่มของชาวมอญ  ละว้า  และเขมร  แต่แทบไม่พบในคนจีน  จึงไม่น่าเป็นไปได้ที่คนไทยจะเคยอาศัยอยู่ในดินแดนปรแทศจีน

                                เมื่อนำไปประกอบกับความเห็นาของพอล  เบเนดิกต์  (Poul  Benedict)  นักภาษาศาสตร์และมานุษยวิทยาชาวอเมริกัน  ซึ่งเสนอไว้เมื่อ  พ.ศ. 2485   ว่า  ภาษาไทยเป็นภาษาเป็นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียน  (กลุ่มชวา มลายู)  คนเผ่าไทยจึงน่าจะเป็นชนชาติเดียวกับชวา มลายู  จึงตั้งข้อสันนิษฐานว่า  ชนชาติไทยน่าจะอพยพมาจากทางตอนใต้  คือ  จากหมู่เกาะอินโดนีเซียและแหลมมลายู  แล้วเลยขึ้นไปทางเหนือถึงบริเวณตอนใต้ของประเทศจีนและอาจอพยพถอยร่นลงมาอีกครั้งหนึ่ง  จนสามารถตั้งถิ่นฐานถาวรอยู่ในดินแดนที่เป็นประเทศไทยปัจจุบัน

                               แนวความคิดนี้แม้จะมีผู้เห็นด้วยอยู่บ้าง  แต่ก็มีความคิดเห็นโต้แย้งอยู่  จึงจะต้องค้นหาหลักฐาน

อื่นๆ  มาประกอบให้แนวความคิดนี้มีน้ำหนักน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น

แนวความคิดที่ 5   เชื่อวาถิ่นกำเนิดของไทยอยู่ในอาณาบริเวณที่เป็นประเทศไทยปัจจุบันนี้เอง

                               อาณาบริเวณที่เป็นประเทศปัจจุบัน  หมายถึง  อาณาบริเวณที่เรีกยว่า  สุวรรณภูมิ   ได้แก่ดินแดน

ที่เป็นคาบสมุทรอินโดจีน  ครอบคลุมถึงบริเวณตอนใต้ของจีนปัจจุบัน  และตอนเหนือของพม่าปัจจุบัน  ลงไปจนถึงแหลมมลายู

                       แนวความคิดนี้เพิ่งเกิดเมื่อประมาณ พ.ศ. 2510  ภายหลังที่ได้มีการสำรวจขุดค้นทางโบราณคดีใน

ประเทศไทยอย่างจริงจัง  นักวิชาการคนสำคัญในกลุ่มแนวความคิดนี้  ได้แก่  ศาสตราจารย์  นายแพทย์สุด  แสงวิเชียร  

และ ศาสตราจารย์ชิน  อยู่ดี

                             การสำรวจขุดค้นทางโบราณคดีในประเทศไทยเท่าที่ควรนำมากล่าว  มีดังนี้

1.             การสำรวจและขุดค้นที่บริเวณสองฝั่งแควน้อยและแควใหญ่  จังหวัดกาญจนบุรี   ของคณะสำรวจไทย-เดนมาร์ก  พ.ศ. 25032505  และ พ.ศ. 2509

2.             การสำรวจและขุดค้นที่บ้านเชียง   จังหวัดอุดรธานี  และในพื้นที่ในเขตจังหวัดของแก่น  สกลนคร  และนครพนม  ด้วยความร่วมมือของมหาวิทยาลัยฮาวาย  สหรัฐอเมริกา  และบริติชมิวเซียม  ณ  กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ  พ.ศ. 25092510

                    จากการขุดพบโครงกระดูกที่จังหวัดกาญจนบุรี  ศาสตราจารย์นายแพทย์สุด  แสงวิเชียร   แพทย์ผู้

เชี่ยวชาญทางกายวิภาคผู้ร่วมการสำรวจขุดค้นยืนยันว่า  เป็นโครงกระดูกยุคหินใหม่อายุประมาณ  4,000  ปี  มีลักษณะ

สำคัญตรงกับโครงกระดูกของคนไทยในปัจจุบัน  น่าเชื่อว่าโครงกระดูกที่พบนั้นเป็นโครงกระดูกของคนไทย  จึงน่าเป็นไป

ได้ว่า  ถิ่นกำเนิดเดิมของคนไทย  คือ  บริเวณที่เป็นประเทศไทยเรานี้เอง  ไม่ได้อพยพโยกย้ายมาจากที่ไหนเลย  สำหรับ

หลักฐานที่ขุดพบที่ตำบลบ้านเชียง  อำเภอหนองหาน  จังหวัดอุดรธานี นั้น  แม้นักวิชาการยังไม่อาจลงความเห็นสรุปว่า

เป็นของบรรพบุรุษของคนไทยหรือไม่  แต่ก็เป็นหลัฐานบ่งบอกว่าได้มีชุมชนที่พัฒนามาถึงขั้นทำภาชนะดินเผาและเครื่อง

มือเครื่องใช้ในดินแดนที่เป็นประเทศไทยเป๋นเวลาหลายพันปีมาแล้ว

                          เมื่อนำมาประกอบความเห็นเรื่องเฮโมโกลบิน  อี   (Hgb. E)  ของนายแพทย์ประเวศ  วะสี  ที่บอกว่าคนไทยไม่น่าจะเคยอาศัยอยู่ในประเทศจีน  และไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดใดๆ  เกี่ยวกับการอพยพโยกย้ายของคนไทยเลย  ทำให้น่าเชื่ออย่างยิ่งว่าคนไทยไม่ได้มาจากไหน  แต่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในดินแดนที่เป็นอาณาบริเวณประเทศไทยนี้เอง  และคงจะสืบเชื้อสายต่อเนื่องกันมานานแสนนานแล้ว

                        ตลอดเวลาอันยาวนานนั้น  ชนชาติไทยย่อมต้องเคยตกอยู่ภายใต้อำนาจอิทิพลของชนชาติอื่นที่ผลัด

เปลี่ยนกันแผ่อำนาจเข้ามา  เช่น  มอญ  และเขมร  เป็นต้น  หลักฐานทางโบราณคดีที่ขุดค้นพบที่มีอักษราจารีกเป็นภาษา

มอญบ้าง  เขมรบ้าง  และสันสกฤตบ้างนั้น  คงจะแสดงถึงอำนาจอิทิพลของชนชาติเหล่านั้นเท่านั้น  คงจะมิได้

หมายความว่า  ดินแดนนี้เป็นที่อยู่อาศัยอยู่กระจัดกระจายทั่วไป  แม้ภาษาและการแต่งกายจะผิดแผกแตกต่างกันไปบ้าง  

แต่วิถีชีวิตความเป็นอยู่  และถ้อยคำในภาษาส่วนใหญ่ยังแสดงว่าเขาเหล่านั้นเป็นคนไทย  และยังคงเรียกตนเองว่าเป็นคน

ไทย  (ไต  หรือ  ไท)

                        หลักฐานทางโบราณคดี  หลักฐานทางเฮโมโกลบิน  อี    และหลักฐานจากความจริงในปัจจุบันที่มีคน

เชื้อชาติไทยกระจายอยู่ทั่วไปทั้งในดินแดนที่เป็นประเทศไทยปัจจุบัน  และบริเวณโดยรอบ  ดังกล่าวมาแล้วนี้ยืนยันวาดิน

แดนนี้เป็นที่อยู่อาศัยของไทยมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์  อาจถือได้ว่าเป็นแหล่างกำเนิดของชนชาติอย่างแท้จริง

                        อย่างไรก็ตาม  แนวคิดนี้ยังคงไม่ได้รับการยอมรับกันทั่วไป  คงจะต้องศึกษาค้นคว้าหาหลักฐานมาสนับสนุนเพิ่มเติมอีก 

 

This free website was made using Yola.

No HTML skills required. Build your website in minutes.

Go to www.yola.com and sign up today!

Make a free website with Yola