อาณาจักรอยุธยา

            เมื่อสิ้นรัชกาลพ่อขุนรามคำแหงมหาราช อาณาจักรสุโขทัยก็เสื่อมลงพระมหากษัตริย์ที่สืบราชสมบัติต่อจากพ่อขุนรามคำแหง  คือ  พระยาเลยไทย (รัชกาลที่ 4) และพระยางั่วนำถม (รัชกาลที่ 5)   ไม่สามารถรักษาอาณาจักรให้คงสภาพเดิมได้  บรรดาหัวเมืองและอาณาจักรที่เคยอยู่ในอำนาจต่างพากันแข็งเมืองตั้งตนเป็นอิสระ  ในจำนวนนี้มีเมืองสำคัญคือ  เมืองอู่ทอง
            ใน  พ.ศ.  1890   ซึ่งเป็นปีที่พระมหาธรรมราชาที่ 1(ลิไทย) ขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 6   แห่งกรุงสุโขทัยนั้น  เมืองอู่ทองเกิดภัยธรรมชาติ  ลำน้ำจระเข้สามพันตื้นเขิน เกิดขาดแคลนน้ำ  อหิวาตกโรคระบาดทำให้ผู้คนล้มตายเป็นอันมาก  เจ้าเมืองอู่ทองจึงอพยพผู้คนไปยังทำเลที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์ (เชื่อว่าเป็นบริเวณที่เป็นวัดพุทธสวรรย์ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาปัจจุบัน)ทรงสร้างพระราชวังขึ้นที่ริมหนองโสน (บึงพระราม)  แล้วประกาศสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ใน พ.ศ. 1893  และเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์  ทรงพระนามว่า  สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1  (พระเจ้าอู่ทอง) กรุงศรีอยุธยาเป็นทำเลที่มีพื้นที่อันมีสภาพทางภูมิศาสตร์ที่ถือกันว่าเหมาะ  คือ  มีแม่น้ำ  3  สาย  ไหลผ่าน  ได้แก่

                                    แม่น้ำลพบุรี                ไหลจากทิศเหนือโอบอ้อมไปทางทิศตะวันตก
                                    แม่น้ำเจ้าพระยา           ไหลผ่านทางทิศใต้
                                    แม่น้ำป่าสัก                   ไหลผ่านทางทิศตะวันออก

             จึงทำให้ผืนแผ่นดินนี้มีลักษณะเป็นเกาะ  เป็นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเกษตร  สะดวกแก่การคมนาคมติดต่อกับต่างประเทศเพราะใกล้ทะเลเป็นชุมทางค้าขายที่สำคัญ  ทั้งยังมีความเหมาะสมในด้านยุทธศาสตร์  มีแม่น้ำล้อมรอบ  เป็นแนวป้องกันตามธรรมชาติได้อย่างดี  ยากที่ข้าศึกจะเข้าโจมตีหรือล้อมกรุงไว้ได้นาน  เพราะเมื่อถึงฤดูน้ำหลากน้ำก็จะท่วมถึงบริเวณนี้โดยรอบอีกด้วย

พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา

รัชกาลที่

พระนาม

ปีที่ครองราชย์ (พ.ศ.)

เหตุการณ์หรือพระราชกรณียกิจสำคัญ

1

สมเด็จพระรามาธิบดีที่  (พระเจ้าอู่ทอง)

1893 – 1912

- สถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี - จัดระเบียบการปกครองแบบจตุสดมภ์

2

สมเด็จพระราเมศวร

1912–1913  (ครั้งที่ 1)

 

3

สมเด้๗พระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพระงั่ว)

1913 - 1931

-สุโขทัยยอมอยู่ใต้อำนาจอยุธยา

4

สมเด็จพระเจ้าทองลัน (หรือเจ้าทองจันทร์)

1931 (วัน)

 

5

สมเด็จพระราเมศวร

1931–1938  (ครั้งที่ 2)

- ทำสงครามชนะล้านนา   - ตีนตรเมืองหลวงของเขมร (ขอม) ได้

6

สมเด็จพระรามราชาธิราช

1938 - 1952

- สุโขทัยประกาศอิสรภาพ

7

สมเด้จพระอินทราชา (เจ้านครอินทร์)

1952 - 1967

- อยุธยากลับมีอำนาจเหนือสุโขทัยอีก

8

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา)

1967 - 1991

- รบชนะอาณาจักรเขมร  - รวมสุโขทัยเข้ากับอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 1981

9

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

1991 - 2031

- ปฏิรูปการปกครองรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง   - ประกาศใช้ระบบศักดินา

10

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 (พระอินทราชาที่ 2)

2031 - 2034

 

11

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2

2034 - 2072

- หล่อพระศรีสรรเพชญ์  - โปรตุเกสเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับไทย

12

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (หน่อพุทธางกูร)

2072 - 2076

 

13

พระรัษฎาธิราช

2076 – 2077 (5 เดือน)

 

14

สมเด็จพระไชยราชาธิราช

2077 - 2089

- อยุธยาทำสงครามกับพม่าเป็นครั้งแรก -ล้านนายอมเป็นประเทศราชของอยุธยา

15

พระยอดฟ้า (พระแก้วฟ้า)

2089 - 2091

 

16

ขุนวรวงศาธิราช

2091 (42 วัน)

 

17

สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พระเจ้าช้างเผือก)

2091 - 2111

-ไทยเสียสมเด็จพระสุริโยทัยในการรบกับพม่า เมื่อ พ.ศ. 2091

- ไทยแพ้พม่าในสงครามช้างเผือก พ.ศ. 2106

18

สมเด็จพระมหินทราธิราช

2111 - 2112

- เสียกรุงอยุธยา  ครั้งที่ 1  แก่พม่า  เมื่อ พ.ศ. 2112

19

สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช (พระสรรเพชญ์ที่ 1)

2112 - 2133

- อยุธยาเป็นประเทศราชของพม่า 15 ปี  -เขมรโจมตีไทยหลายครั้ง

 - พระนเรศวรทรงประกาศอิสรภาพจากพม่า เมื่อ พ.ศ. 2127

20

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พระสรรเพชญ์ที่ 2)

2133 - 2148

- ไทยชนะพม่าในสงครามยุทธหัตถี พ.ศ. 2135 

-ไทยขยายอาณาเขตออกไปกว้างขวางออกไปกว้างขวางกว่าสมัยใดๆ

21

สมเด็จพระเอกาทศรถ (พระสรรเพชญที่ 3)

2148 - 2153

- ส่งทูตไปฮอลันดา นับเป็นทูตไทยคณะแรกที่ไปยุโรป

22

พระศรีเสาวภาคย์ (พระสรรเพชญ์ที่ 4)

2153-2154 (1ปี2เดือน)

 

23

สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (พระอินทราชา)

2154 - 2171

- พบรอยพระพุทธบาทสระบุรี -ทรงนิพนธ์กาพย์มหาชาติ

24

สมเด็จพระเชษฐาธิราช

2171 - 2172  (เดือน)

 

25

พระอาทิตย์วงศ์

2172 ( 38 วัน)

 

26

สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (พระสรรเพชญ์ที่ 5)

2172 - 2199

- ได้เขมรเป็นเมืองประเทศราช

27

สมเด็จเจ้าฟ้าไชย (พระสรรเพชญที่ 6)

2199  (3-5 เดือน)

 

28

สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา (พระสรรเพชญ์ที่ 7)

2199 (2 เดือน)

 

29

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

2199 - 2231

- ส่งออกพระวิสุทธสุนธร (โกษาปาน) เป็นทูตไปฝรั่งเศส –รับวิทยาการจากชาติ   ตะวันตกเข้ามามาก 

-เป็นยุคทองของวรรณคดี

30

สมเด็จพระเพทราชา

2231 - 2246

- ความสัมพันธ์กับฝรั่งเศสสิ้นสุดลง –การค้ากับต่างประเทศลดลง

– เกิดกบฏในเมืองต่างๆ 4 ครั้ง

31

สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ)

2246 - 2251

- เรื่องราวของพันท้ายสรสิงห์

32

สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 (พระเจ้าท้ายสระ)

2251 - 2275

- ขุดคลองมหาไชยเชื่อมแม่น้ำแม่กลองกับแม่น้ำท่าจีน

33

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

2275 – 2301$

- ส่งสมณทูตไปฟื้นฟูพุทธศาสนาในลังกา

 -มีความรุ่งเรืองด้านวรรณกรรม กวีสำคัญได้แก่ เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร (เจ้าฟ้ากุ้ง)

34

สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (ขุนหลวงหาวัด)

2301 (เดือน)

 

35

สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ (พระเยจ้าเอกทัศ)

2301 - 2310

- เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 แก่พม่า  เมื่อ พ.ศ. 2310  เป็นอันสิ้นสุดสมัยอยุธยา













































































































































 

This free website was made using Yola.

No HTML skills required. Build your website in minutes.

Go to www.yola.com and sign up today!

Make a free website with Yola