อาณาจักรสุโขทัย

                         พ.ศ. 1792 - 1981

 

                            เมื่ออาณาจักรขอมเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในพุทธศตวรรษที่  17  นั้น   อิทธิพลของขอมแผ่ขยายครอบคลุมดินแดนสุวรรณภูมิ  อารยธรรมหรือวัฒนธรรมของขอมจึงแทรกซึมไปในหมู่ประชากรของบริเวณนี้อย่างทั่วถึงและผสมตลุกเคล้าเป็นวัฒนธรรมสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน        ครั้นอาณาจักรขอมเสื่อมลงในตอนปลายพุทธศตวรรษที่  18  กลุ่มคนไทยหรืออาณาจักรต่างๆ ของคนไทยที่เคยตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของขอมจึงต่างพยายามตั้งตนเป็นอิสระ

 

การสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย        

                         ก่อนการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย  เมืองสุโขทัยและเมืองศรีสัชนาลัย  มีเจ้าเมืองปกครองมีพระนามว่า  พ่อขุนศรีนาวนำถม     เมื่อสิ้นรัชกาลได้มีบุคคลปรากฏตามศิลาจารึกว่า  ขอมสบาดโขลญลำพง    เข้ามามีอำนาจปกครองเมืองทั้งสอง   พ่อขุนบางกลางหาว   เจ้าเมืองบางยาง  กับพระสหายคือ  พ่อขุนผาเมือง  เจ้าเมืองราด   ซึ่งเป็นโอรสพ่อขุนศรีนาวนำถม  ได้ชักชวนคนไทยผู้รักชาติบ้านเมืองทั้งหลายให้รวมตัวผนึกกำลังชิงเมืองสุโขทัยและเมืองศรีสัชนาลัยจากขอมสบาดโขลญลำพง   ประกาศสถาปนากรุงสุโขทัยเป็นราชอาณาจักรอิสระ  ประกอบพระราชพิธีอภิเษกพ่อขุนบางกลางหาวเป็นกษัตริย์ปกครองสุโขทัย  ทรงพระนามว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์  ใน  พ.ศ. 1792

                         พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ได้ทรงปกครองอาณาจักรสุโขทัย  เป็นกษัตริย์องค์แรกของราชวงศ์พระร่วงโดยมีการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับพ่อขุนผาเมือง  เจ้าเมืองราด  ด้วยความเป็นพระสหายของพ่อขุนทั้งสองและเครือญาติสนิทางการสมรส  คือ  พระมเหสีของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์นั้นมีเชื้อพระวงศ์เป็นพระขนิษฐาของพ่อขุนผาเมือง  มีพระนามว่า  นางเสือง   ซึ่งต่อมาได้มีโอรสเสวยราชสมบัติปกครองอาณาจักรสุโขทัยให้มีความเจริญรุ่งเรืองสืบต่อมาถึง  2  พระองค์  คือ   พ่อขุนบานเมืองและพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

 

ปัจจัยที่เอื้อต่อการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย

                          ปัจจัยที่เอื้อต่อการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย  มี  2  ด้าน  คือ

1.               ปัจจัยภายใน    ได้แก่

 มีผู้นำที่เข้มแข็ง       ในสมัยนั้นผู้นำคนไทยที่กล้าหาญมีสติปัญญาเฉียบแหลมและรอบคอบ  2  คน  ซึ่งเป็นสหายกัน  ได้แก่  พ่อขุนผาเมือง  เจ้าเมืองราด  และพ่อขุ

บางกลางหาว  เจ้าเมืองบางยาง  ได้ร่วมกันรวบรวมคนไทย  และกำลังเข้าต่อสู้กับขอมจนสามารถขับไล่ขอมไปได้

 มีขวัญและกำลังใจดี    การที่คนไทยมีผู้นำที่เข้มแข็งมีความสามารถ  ทำให้มีขวัญและกำลังใจดี  มีความเชื่อมั่นว่าจะต่อสู้เอาชนะขอมได้  ต่างก็มีความปรารถนาที่

จะขับไล่ขอมออกไป  เพื่อจะได้มีความเป็นอิสระและมีเอกราชสมบูรณ์  จึงได้ผนึกกำลังกันต่อสู้และเอาชนะขอมได้สำเร็จ

 รับความเป็นอิสระ    คนไทยมีนิสัยรักอิสระไม่ชอบให้ผู้ใดกดาขี่ข่มเหงบังคับ  ดังนั้นเมื่อพ่อขุนบางกลางหาว  และพ่อขุนผาเมืองได้ร่วมมือกันขับไล่ขอมเพื่อให้

คนไทยได้รับอิสรภาพ  จึงได้รับความร่วมมือร่วมใจจากชาวไทยทุกคนด้วยดี  จนสามารถาขับไล่ขอมและปลดปล่อยกรุงสุโขทัยเป็นอิสระได้ในที่สุด

                                   บ้านเมืองมีความอุดมสมบูรณ์   เมืองสุโขทัยเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเกษตรมีการเพาะปลุก  การเลี้ยงสัตว์  และการจับสัตว์น้ำ  ทำให้ผู้คนเข้ามาอาศัย       

ตั้งบ้านเรือนกันเป็นชุมชนที่ค่อนข้างหนาแน่น  เมืองสุโขทัยจึงพร้อมด้วยเสบียงอาหาร  และกำลังคน

2.               ปัจจัยภายนอก

 ขอมมักจะรุกรานและแผ่อำนาจเข้าไปในอาณาจักรอื่นๆ  ต้องทำสงครามรบพุ่งเป็นระยะเวลายาวนาน  โดยเฉพาะกับอาณาจักรจามปา   กษัตริย์ขอมต้องทำสงคราม

ยึดเยื้อหลายรัชกาล  ต้องเสียกำลังคน  เสบียงอาหาร  ทรัพยากรและขาดการทำนุบำรุงบ้านเมือง  ทำให้ต้องเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจประชาชนท้อแท้เบื่อหน่าย

 การที่ขอมขยายอาณาเขตออกไปไกล  ทำให้ไม่สามารถออกไปไกล  ทำให้ไม่สามารถรักษาอำนาจไว้ได้อย่างถาวร  แม้จะแก้ปัญหา  โดยตั้งเมืองใหญ่ให้เป็นศูนย์

อำนาจ  เช่น  ลพบุรี  สุโขทัย  แต่การปกครองก็มิได้มีประสิทธิภาพในที่สุดก็ไม่สามารถรักษาอำนาจของคนในดินแดนชาติอื่นที่ตนยึดครองไว้ได้

 การสร้างปราสาทหรือเทวสถานไว้ประดิษฐานศิวลึงค์   เพื่อการบูชาและการสร้างสาธารณูปโภคของกษัตริย์แต่ละพระองค์  ก็เป็นอีกเหตุหนึ่งที่ทำให้ขอมเสื่อม

อำนาจ  เพราะต้องใช้แรงงาน  ใช้ทรัพยากรและเสบียงอาหารจำนวนมากมาย  ความอ่อนแอทางเศรษฐกิจทำให้ต้องเก็บภาษีจากประชาชนมากขึ้น  ประชาชนจึงไม่ร่วมมือกับทางราชการ ด้วยเหตุดังกล่าวนี้  อาณาจักรขอมจึงเสื่อมลง  เปิดโอกาสให้คนไทยได้ร่วมกันกำจัดอำนาจอิทธิพลของขอมได้สำเร็จ

 

พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัย

                         ราชวงศ์พระร่วงปกครองอาณาจักรสุโขทัย  โดยมีพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรก  และมีพระมหากษัตริย์สืบต่อมารวม  9  พระองค์  ตลอดเวลาเกือบ  200  ปี  ดังนี้

 

รัชกาลที่

พระนาม

ปีที่ขึ้นครองราชย์  (พ.ศ.)

ปีที่สวรรคต  (พ.ศ.)

1

พ่อขุนศรีอินทราทิตย์

1792

ไม่ปรากฏ

2

พ่อขุนบานเมือง

ไม่ปรากฏ

1822

3

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

1822

1841

4

พระยาเลอไทย

1841

ไม่ปรากฏ

5

พระยางั่วนำถม

ไม่ปรากฏ

1890

6

พระมหาธรรมราชาที่ 1  (ลิไทย)

1890

1911

7

พระมหาธรรมราชาที่ 2

1911

1942

8

พระมหาธรรมราชาที่ 3  (ไสยลือไทย)

1942

1962

9

พระมหาธรรมราชาที่ 4  (บรมปาล)

1962

1981

 

 

  

 

This free website was made using Yola.

No HTML skills required. Build your website in minutes.

Go to www.yola.com and sign up today!

Make a free website with Yola