ถิ่นกำเนิดของชาติไทย

 

การศึกษาประวัติศาสตร์

                        ประวัติศาสตร์เป็นวิชาที่ว่าด้วยพฤติกรรมหรือเรื่องราวของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในอดีต  เป้าหมายการเรียนรู้ประวัตศาสตร์  คือ  การเข้าใจสังคมในอดีตให้ใกล้เคียงความจริงที่สุด  เพื่อนำมาเสริมสร้างความเข้าใจสังคมปัจจุบัน

                                                           

                          การศึกษาประวหัติศาสตร์จำเป็นต้องอาศัยหลักฐานเพื่อตรวจสอบ  หรือยืนยันความถูกต้องของเรื่องราวต่างๆ เหล่านั้น   หลักฐานทางประวัติศาสตร์  แบ่งออกเป็น  2  ชนิด  ได้แก่  หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรกับหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

                          หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร  ได้แก่  หลักฐานที่เป็นตัวหนังสือ  เช่น  ศิลาจารึก  พงศาวดาร  จดหมายเหตุ  หรือบันทึกข้อความอย่างใดๆ  ที่เกี่ยวกับเรื่องราวของเหตุการณ์ที่ผ่านมา  ซึ่งอาจปรากฏบนแผ่นกระดาษหรือวัสดุอื่นๆ  เช่น  แผ่นหิน  แผ่นโลหะ  ใบบาน  ผ้า  แผ่นหนัง  ผนังถ้ำ  หรือผนังโบสถ์วิหาร  เป็นต้น

                          โดยทั่วไป  การศึกษาประวัติศาสตร์มักต้องใช้หลักฐานทั้ง  2  ชนิดนี้ประกอบกันเพื่อช่วยให้ได้เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่สมบูรณ์ที่สุด 


การแบ่งยุคสมัยในประวัติศาสตร์

               การศึกษาประวัติศาสตร์  เป็นการศึกษาอารยธรรมของมนุษย์ในอดีต  โดยพยายามศึกษา

ค้นคว้าไปให้ไกลที่สุดเท่าที่จะมีหลักฐานเพียงพอให้สันนิษฐานได้  เพื่อความสะดวกในการศึกษา  นักประวัติศาสตร์แบ่ง

สมัยทางประวัติศาสตร์ออกเป็น  2  สมัยโดยถืออารยธรรมของมนุษย์เป็นหลัก  ได้แก่  สมัยประวัติศาสตร์กับสมัยก่อนประวัติศาสตร์

                 สมัยก่อนประวัติศาสตร์ หมายถึงสมัยที่เรารู้เรื่องราวในอดีตได้ค่อนข้างชัดเจน  

เนื่องจากเป็นสมัยที่มีการเขียน  การจดบันทึกเรื่องราวต่างๆเป็นตัวอักษร

                 สมัยก่อนประวัติศาสตร์     หมายถึงสมัยที่เราไม่สามารถรู้เรื่องราวในอดีตได้ชัดเจน  

เนื่องจากเป็นสมัยที่ยังไม่พบหลักฐานเป็นตัวหนังสือการศึกษาประวัติศาสตร์ในสมัยนี้  จึงเป็นเพียงการสันนิษฐานโด่ยอ

นุมานเอาจากหลักฐานแวดล้อมอื่นๆ

                 สมัยก่อนประวัติศาสตร์ยังแบ่งย่อยเป็นยุคใหญ่ๆได้ ยุคได้แก่  ยุคหิน  กับยุคโลหะ  ซี่

งในแต่ละยุคยังแบ่งเป็นยุคย่อยลงไปอีก  ดังนี้

 ยุดหิน

                    ยุคหินเริ่มต้นเมื่อ  500,000  ปีที่ผ่านมาเป็นยุคที่มนุษย์รู้จักนำหินมาทำเป็นเครื่องมือ

เครื่องใช้ต่างๆ  และพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ  แบ่งย่อยออกเป็น  3  ยุค

                   1. ยุคหินเก่ายุคนี้มนุษย์ยังเร่ร่อนไม่อยู่เป็นหลักแหล่ง  อาศัยอยู่ตามถ้ำ  หรือโพรงไม้  มีชีวิตอยู่ได้โดย

อาศัยธรรมชาติเป็นหลัก  เมื่อบริเวณใดหมดอาหารก็โยกย้ายไปหาทำเลใหม่ที่อุดมสมบูรณ์กว่าเริ่มรู้จักใช้หินเป็นอาวุธล่า

สัตว์และป้องกันตัว  และใช้หินทำเครื่องมือเครื่องใช้หยาบๆ เช่น  ขวานหิน

                  2. ยุคหินกลาง ยุคนี้มนุษย์เริ่มรู้จักเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์  เครื่องมือเครื่องใช้ยังคงทำด้วยหินแต่ละเอียด

ประณีตกว่าเดิม  ขวานหินมีผิวเรียบและคมขึ้น

                  3.  ยุคหินใหม่ ยุคนี้มนุษย์พึ่งพาธรรมชาติน้อยลง  รู้จักเพาะปลูก  เลี้ยงสัตว์  ทำที่อยู่อาศัยและเครื่องนุ่ง

ห่ม  เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยหินพัฒนามากขึ้น  รู้จักนำหินมาทำเครื่องประดับ  เช่น  กำไล  แหนวน  ลูกปัด  นอกจาก

นี้ยังรู้จักทำเครื่องปั้นดินเผาเป็นภาชนะต่างๆ ด้วย



                                                     

ยุคโลหะ

                   ยุคโลหะเริ่มต้นเมื่อประมาณ  5,000  ปีที่ผ่านมา  เป็นยุคที่มนุษย์พัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้ที่

ทำจากหินมาเป็นโลหะ  แบ่งย่อยออกเป็น  2  ยุค

                   1. ยุคสำริดเป็นยุคที่มนุษย์รู้จักนำทองแดงมาหลอมรวมกับดีบุกเป็นโลหะผสมเรียกว่า  สำริด”  ใช้ทำเครื่องมือเครื่องใช้แทนหิน

                    2. เหล็กยุคนี้มนุษย์รู้จักถลุงเหล็กนำเหล็กมาทำอาวุธและเครื่องมือเครื่องใช้  ซึ่งมีคุณภาพดีกว่าสำริด  

เป็นยุคที่มนุษย์พึ่งพาธรรมชาติน้อยลงมาก  การเพาะปลูก  เลี้ยงสัตว์  สร้างบ้านเรือนและเครื่องนุ่งห่มพัฒนามากขึ้น  รู้จักทอผ้า  และทำเครื่องปั้นดินเผาเป็นลวดลายสีต่างๆและทำเครื่องประดับ  เช่น  กำไล  ลูกปัด  แหวน  ต่างหู  ที่ประณีตงดงามมากขึ้น

                   ดินแดนที่เป็นประเทศไทยปัจจุบันเป็นดินแดนเก่าแก่แห่งหนึ่งมีอารยธรรมย้อนหลังไปถึงยุคหินเก่าโดยขุดพบเครื่องมือเครื่องใช้และเครื่องประดับยุคต่างๆในทุกภาคของประเทศ 

 

 

This free website was made using Yola.

No HTML skills required. Build your website in minutes.

Go to www.yola.com and sign up today!

Make a free website with Yola