อาณาจักรยุคต้น

 

ประวัติศาสตร์ยุคต้น        


             ประวัติศาสตร์ยุคต้นหรือยุคก่อนประวัติศาสตร์ของชาติไทยเป็นประเด็นที่มี่การโต้แย้งกันมาก   ทฤษฎีดั้งเดิมมีอยู่ว่าชาวไทยอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของจีน   เมื่อประมาณ พ.ศ. 300 – 400   โดยเป็นอาณาจักรที่มีระบบการเมื่องการปกครองที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเองและมีวัฒนธรรมที่เป็นเอกเทศ   ต่อมาก็ค่อยๆ   ถูกขับไล่ลงมาทางใต้โดยนโยบายขยานดินแดนของอาณาจักรจีนในกระบวนการต่อสู้อันยาวนานกับชาวจีน  “ผู้รุกราน”  อย่างไรก็ตาม  อาณาจักรของกลุ่มชนชาวไทยก็ถูกทำลายลงด้วยโดยฝีมือจักรพรรดิมองโกเลียผู้ปกครองจีน   การอพยพขนานใหญ่เกิดขึ้นต่อมา มีหลายทฤษฎีที่พยายามหาที่มาของชนชาติไท ทฤษฎีดั้งเดิมเชื่อว่าชาวไทยในสมัยก่อนเคยมีถิ่นอาศัยอยู่ขึ้นไปทางตอนเหนือถึงแถบเทือกเขาอัลไต จากนั้นได้มีการทยอยอพยพเคลื่อนย้ายลงมาทางใต้สู่คาบสมุทรอินโดจีน หลายละลอกเป็นเวลาต่อเนื่องกันหลายพันปี โดยเชื่อว่าเกิดจากการแสวงหาทรัพยากรใหม่ แต่ทฤษฎีนี้ขาดหลักฐานทางโบราณคดีที่น่าเชื่อถือได้ และไม่ค่อยจะได้รับการยอมรับเท่ากับในอดีต  ในขณะเดียวกันก็มีหลายทฤษฎีที่อธิบายว่าเดิมชนชาติไทย ได้อาศัยอยู่เป็นบริเวณกว้างขวางในทางตอนใต้ของจีนจนถึงภาคเหนือของไทยและได้มีการอพยพลงใต้เรื่อย ๆ เข้ามาอาศัยอยู่ในดินแดนคาบสมุทรอินโดจีน จากนั้นได้อาศัยกระจัดกระจายปะปนกับกลุ่มชนดั้งเดิมในพื้นที่ โดยไม่มีปัญหามากนัก ซึ่งอาจเนื่องด้วยดินแดนคาบสมุทรอินโดจีนในช่วงเวลานั้นยังมีพื้นที่และทรัพยากรธรรมชาติเป็นจำนวนมาก ในขณะที่มีกลุ่มชนอาศัยอยู่เบาบาง ปัญหาการแย่งชิงทรัพยากรจึงไม่รุนแรง รวมทั้งลักษณะนิสัยของชาวไทนั้นเป็นผู้อ้อนน้อมและประนีประนอม ความสัมพ้นธ์ระหว่างชาวไทยกลุ่มต่างๆ อาจมีการติดต่ออย่างใกล้ชิดอยู่บ้าง ในฐานะของผู้มีภาษาวัฒนธรรมและที่มาอันเดียวกัน แต่การรวมตัวเป็นนิคมขนาดใหญ่หรือแว่นแคว้นยังไม่ปรากฏ ในเวลาต่อมา เมื่อมีชาวไทยอพยพลงมาอาศัยอยู่ในดินแดนคาบสมุทรอินโดจีนเป็นจำนวนมากขึ้น ชาวไทยจึงเริ่มมีบทบาทในภูมิภาค แต่ก็ยังคงจำกัดอยู่เพียงการเป็นกลุ่มอำนาจย่อย ๆ ภายใต้อำนาจการปกครองของชาวมอญและขอม กระทั่งอำนาจของขอมในดินแดนที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเริ่มอ่อนกำลังลง กลุ่มชนที่เคยตกอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของขอม รวมทั้งกลุ่มของชาวไทย

            ราวๆ พ.ศ. 1400   ชาวไทยได้พบดินแดนแหลมทองสามารถยึดอำนาจจากชาวขอม (เขมร) ได้สำเร็จ เป็นยุคของการเริ่มต้นสร้างสมอารยธรรมของตนเองขึ้นมา   เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพของชนชาติไทยอย่างแท้จริง   ทั้งด้านการปกครอง การเมือง เศรษฐกิจ-ศาสนา  และวัฒนธรรม  ที่เด่นชัดแตกต่างไปจากชนชาติจีน และชนชาติขอม  ที่มีมาก่อนหน้านี้     ทำให้ประวัติศาสตร์ของชนชาติไทยได้เริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรก   ซึ่งก่อนหน้านั้นมักจะปะปนอยู่กับประวัติศาสตร์ของชาวจีนและขอมในลักษณะของชนกลุ่มน้อยที่อาศัยปะปนอยู่กับชนชาติจีนและขอม                                      

          เมื่อรวมตัวกันก่อตั้งเป็นอาณาจักรของตนเองได้ชนชาติไทยก็เริ่มสร้างระบบการปกครองของตนเองขึ้น   ในยุคต้นได้เริ่มใช้ระบบการปกครองแบบกษัตริย์ที่ทรงมีฐานะเป็น พระเจ้า”  หรือ พญา” มีความสนิทสนมใก้ลชิดกับประชากรอย่างยิ่ง    เนื่องจากอาณาจักรไทยในยุคต้นๆเป็นอาณาจักรที่มีขนาดไม่ใหญ่โตนัก จึงทำให้กษัตริย์กับประชากรหรือไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินมีความสนิทสนมใกล้ชิดกันอย่างยิ่ง ถือว่าพระมหากษัตริย์ก็คือสามัญชนที่ทำหน้าที่เป็นหัวหน้า  ทำหน้าที่ดูแลทุกข์สุขของไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินคนทั่วไปมีเรื่องอะไรก็ประชุมปรึกษาหารือกัน  เมื่อเกิดศึกสงครามประชาชนทุกคนก็ร่วมกันต่อสู้เป็นทหารด้วยกันหมดสภาพทางการปกครอง  การดูแลความเป็นอยู่ด้านเศรษฐกิจเป็นไปอย่างทั่วถึงจนทำให้ความขัดแย้งระหว่างกับกษัตริย์ซึ่งเป็นชนชั้นปกครอง กับไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินที่เป็นชนชั้นผู้ถูกปกครองมีอยู่น้อยมากความขัดแย้งทางด้านการเมืองการปกครองในยุคต้นๆ มักจะเป็นความขัดแย้งระหว่างชนชั้นปกครองด้วยกันเอง โดยเฉพาะในช่วงผลัดเปลี่ยนการปกครอง   ซึ่งเป็นความขัดแย้งในเรื่องของการแย่งชิงกันขึ้นครองราชย์สมบัติเป็นส่วนใหญ่และความขัดแย้งนี้ก็ไม่มีเคยมีเหตุการณ์ใดที่รุกรามเป็นสงครามขนาดใหญ่   ส่วนใหญ่เป็นความขัดแย้งระหว่างวงศ์ตระกูล หรือเหล่าเคลือญาติของชนชั้นปกครองเอง   ซี่งมักจะจบลงด้วยการยินยอมสวามิภักดิ์ของฝ่ายที่พ่ายแพ้โดยไม่เกิดเป็นสงครามขนาดใหญ่เหมือนกับชาติอื่นๆ   ทั้งในเอเชียและยุโรป

                              แม้จะยังไม่ได้ข้อยุติว่าชนชาติไทยมีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ไหน  แต่หลักฐานทางโบราณคดีระบุชัดเจนว่าดินแดนที่เป็นประเทศไทยปัจจุบัน  มีกลุ่มคนอาศัยอยู่อย่างสืบเนื่องตลอดมา และมีมรดกทางวัฒนธรรมตกทอดผสมผสานเป็นวัฒนธรรมไทยในปัจจุบัน

  

 

This free website was made using Yola.

No HTML skills required. Build your website in minutes.

Go to www.yola.com and sign up today!

Make a free website with Yola